วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ที่มา

ที่มาของเกลือ

      หลักฐานการทำเกลือยุคแรกที่สุดย้อนไปถึง 6,000 ปีที่แล้ว เมื่อคนที่อาศัยในประเทศโรมาเนียต้มน้ำเพื่อสกัดเกลือ การทำนาเกลือในจีนก็เกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน เกลือถูกชาวฮีบรู กรีก โรมัน ไบแซนไทน์ ฮิไทต์ และอียิปต์ ตีราคาสูง เกลือกลายเป็นวัตถุสำคัญและขนส่งทางเรือผ่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ผ่านทางทางเกลือที่สร้างขึ้นเฉพาะ และผ่านทะเลทรายซาฮาราในคาราวานอูฐ ความขาดแคลนและความต้องการเกลือทั่วโลกนำไปสู่สงครามชิงเกลือ และใช้เกลือเพื่อเพิ่มภาษีเงินได้ เกลือยังถูกใช้ในพิธีทางศาสนา และวัฒนธรรมต่าง ๆ ด้วย

 เกลือผลิตจากเหมืองเกลือหรือจากการระเหยน้ำทะเลหรือน้ำซับที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุในบ่อตื้น ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหลักของเกลือคือโซดาไฟ และคลอรีน และใช้ในกระบวนการทางอุตสาหกรรมและในการผลิตโพลีไวนิลคลอไรด์ พลาสติก เยื่อกระดาษ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ จากการผลิตเกลือปริมาณสองล้านตันต่อปี มีเพียง 6% ที่ให้มนุษย์บริโภค ส่วนอื่น ๆ ใช้ในการปรับสภาวะของน้ำ กำจัดน้ำแข็งบนถนน และใช้ในการเกษตร เกลือที่กินได้มีขายในหลายรูปแบบ เช่น เกลือสมุทรและเกลือโต๊ะปกติจะบรรจุสารป้องกันการรวมตัวเป็นก้อน และอาจเสริมไอโอดีนเพื่อป้องกันภาวะพร่องไอโอดีน นอกจากจะใช้ปรุงอาหารและวางบนโต๊ะแล้ว เกลือยังพบได้ในอาหารแปรรูปจำนวนมาก อาหารที่มีโซเดียมมากเกินไปทำให้ความดันโลหิตสูง และอาจเพิ่มความเสี่ยงของกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด และโรคหลอดเลือดสมอง องค์การอนามัยโลกแนะนำว่าผู้ใหญ่ควรบริโภคโซเดียมน้อยกว่า 2,000 มิลลิกรัม หรือเทียบเท่ากับเกลือ 5 กรัมต่อวัน 

ความหมาย

ความหมายของเกลือ

      เกลือ เป็นแร่ธาตุส่วนใหญ่ประกอบด้วยโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) สารประกอบในระดับสูงกว่าเกลือชนิดต่าง ๆ เกลือในธรรมชาติก่อตัวเป็นแร่ผลึกรู้จักกันว่า เกลือหิน หรือแฮไลต์ เกลือพบได้ในปริมาณมหาศาลในทะเลซึ่งเป็นองค์ประกอบของแร่ที่สำคัญ ในมหาสมุทรมีแร่ธาตุ 35 กรัมต่อลิตร ความเค็ม 3.5% เกลือเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตสัตว์ ความเค็มเป็นรสชาติพื้นฐานของมนุษย์ เนื้อเยื่อสัตว์บรรจุเกลือปริมาณมากกว่าเนื้อเยื่อพืช ดังนั้นอาหารของชนเผ่าเร่ร่อนที่ดำรงชีวิตในฝูงต้องการเกลือเพียงเล็กน้อย หรือไม่ต้องการเกลือเลย ขณะอาหารประเภทซีเรียลจำเป็นต้องเพิ่มเกลือ เกลือเป็นหนึ่งในเครื่องปรุงรสที่เก่าแก่ที่สุดและหาได้ง่ายที่สุด และการดองเค็มก็เป็นวิธีการถนอมอาหารที่สำคัญวิธีหนึ่ง

ความสำคัญ

ความสำคัญของเกลือ

เกลือเป็นสิ่งที่ร่างกายมนุษย์จะขาดเสียมิได้ คนที่มีน้ำหนัก 70 กิโลกรัมในร่างกายจะมีเกลือประมาณ 150 กรัม เลือดในร่างกายมนุษย์มีเกลืออยู่ประมาณ 5 ใน 1,000 ส่วน สำหรับในน้ำเหลืองไขสันหลัง และเหงื่อ ปริมาณของเกลือก็ยิ่งมีมากกว่า ถ้าหัวใจขาดเลือด ก็จะทำให้การเต้นของหัวใจผิดปกติ กล้ามเนื้อขาดเกลือ จะทำให้เกิดอาการชัก ถ้าในกระเพาะอาหารขาดเกลือ ก็จะทำให้ระบบการย่อยไม่ดี หากขาดเกลือเป็นระยะเวลานานๆ จะทำให้ไม่มีแรง

ผลวิจัยทางการแพทย์พบว่า ผู้ที่กินเกลือมาก อัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูงก็จะเพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น ประชาชนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น กินเกลือเฉลี่ยคนละ 26 กรัม/วัน ทำให้เป็นโรคความดันโลหิตสูงถึงร้อยละ 39 และส่วนใหญ่จะตายเพราะเส้นเลือดในสมองแตก สำหรับชาวเอสกิโมกินเกลือเฉลี่ยคนละ 4 กรัม/วัน อัตราส่วนของผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงต่ำมาก สำหรับปริมาณของเกลือที่กินในแต่ละวัน ควรที่จะควบคุมในปริมาณที่ต่ำกว่า 10 กรัม / วัน ถ้าต่ำกว่า 5 กรัม/วัน จะทำให้ความดันโลหิตลดลง เป็นการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงได้อีกด้วย ในกรณีของผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงควรควบคุมการกินเกลือให้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 3 กรัม/วัน ในภาวะที่กินเกลือน้อย ขณะเดียวกันเกิดมีอาการอาเจียน ท้องเสีย เหงื่อออกมาก หรือใช้ยาขับปัสสาวะทำให้เกลือในร่างกายถูกขับออกมามากเป็นผลให้เกิดอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยมึนหัว เบื่ออาหาร มีอาการจะอาเจียน หรืออาเจียน ตามัว เป็นต้น ถ้าเป็นมากจะทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัว เกิดอาการชักได้ ในภาวะเช่นนี้ควรกินน้ำเกลือเข้าไปชดเชย

ที่มา:https://www.doctor.or.th/article/detail/6735

ประเภทของเกลือ

ประเภทของเกลือ

1. เกลือปกติ (Normal salt) เกลือปกติเป็นเกลือที่ไม่มีไฮโดรเจนหรือไฮดรอกไซด์ไอออนที่อาจถูกแทนที่ ดังนั้น จึงประกอบด้วยไอออนบวกคือโลหะ หรือกลุ่มธาตุที่เทียบเท่าโลหะ เช่น NH4+( แอมโมเนียมไอออน) กับไอออนลบซึ่งเป็นอนุมูลกรด (Acid radical) ตัวอย่างของเกลือปกติ เช่น NaCl K2SO4 , Ca3(PO4)2 , NH4NO3 , (NH4)2SO4 , ZnSO4 เป็นต้น

2. เกลือกรด (Acid salt) เกลือประเภทนี้มี H อะตอมอยู่ในโมเลกุลของเกลือ ซึ่งสามารถไอออไนซ์ได้ ( แตกตัวเป็นไอออนได้) เช่น NaHSO4 , NaHCO3 , Na2HPO4 , NaH2PO4 เป็นต้น

3. เกลือเบสิก (Base salt) เกลือประเภทนี้มีไอออนลบ OH- และไอออนบวก เช่น Pb(OH)Cl, Bi(OH)2Cl เป็นต้น

4. เกลือสองเชิง (Double salt) เกิดจากเกลือปกติสองชนิดรวมกันเป็นโมเลกุลใหญ่ เช่น K2SO4 , Al(SO4)3.24H2O เป็นต้น

5. เกลือเชิงซ้อน (Complex salt) ประกอบด้วยไอออนลบที่ไอออนเชิงซ้อน เช่น K3Fe(CN)6 เป็นต้น

องค์ประกอบของเกลือ


องค์ประกอบของเกลือ

กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ออกประกาศกระทรวง ฉบับที่ 153 เมื่อ พ.ศ. 2537 เรื่องเกลือบริโภค เป็นอาหารที่กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน โดยจะต้องมีปริมาณไอโอดีนไม่น้อยกว่า 30 ppm (30 มิลลิกรัมต่อเกลือบริโภค 1 กิโลกรัม)
นอกจากนี้เกลือบริโภค อาจมีแร่ธาตุอื่น ๆ ปนได้ ดังนี้

   
น้ำหนักแห้ง (%)
เกลือบริสุทธิ์
เกลือแกง
เกลือเม็ด
เกลือสำหรับปรุงอาหาร
(Refined salt)
(Table salt)
(Tablet salt)
(Cooking salt)
 วัตถุที่ไม่ละลายน้ำ ต้องไม่เกิน
0.03
0.20
0.10
0.20
 คลอไรด์(Cl) เช่น โซเดียมคลอไรด์ ต้องไม่    ต่ำกว่า
99.60
97.00
98.00
97.00
 อัลคาไลน์ เช่น โซเดียมคาร์บอเนต ต้องไม่เกิน
0.10
0.20
0.20
-
 แคลเซียม (Ca) ต้องไม่เกิน
0.01
0.10
0.10
-
 แมกนีเซียม (Mg) ต้องไม่เกิน
0.01
0.1
0.1
-
 ซัลเฟต (SO4) ต้องไม่เกิน
0.30
0.50
0.50
-
 เหล็ก (Fe) ต้องไม่เกิน
10.00
50.00
50.00
-
 ตะกั่ว (Pb) ต้องไม่เกิน
2.00
2.00
2.00
-
 อาเซนิก (As) ต้องไม่เกิน
1.00
1.00
1.00
-
 คอปเปอร์ (Cu) ต้องไม่เกิน
2.00
-
-
-


แหล่งที่มา :http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/iodine/chapter3/salt.html

ทฤษฏี

วิธีการดำเนินการตามแนวพระราชดำริ เส้นทางเกลือ

    ศึกษาและหาแนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนสารไอโอดีน โดยการค้นหา  เส้นทางเกลือ ตั้งแต่แหล่งผลิตจนถึงผู้บริโภคนำไอโอดีนไปผสมที่แหล่งผลิตหรือแหล่งจัดจำหน่ายโดยเติมให้ฟรีก่อน หากภายหลังพ่อค้าและภาคเอกชนเกิดศรัทธาสมทบก็สามารถทำได้หากบางท้องที่ไม่อาจเติมไอโอดีนที่แหล่งต้นทางได้ ทรงแนะนำว่าควรนำเครื่องเกลือผสมไอโอดีนไปบริการในลักษณะหน่วยบริการเคลื่อน ที่เข้าไปในหมู่บ้านต่างๆ กล่าวคือ ใครมีเกลืออยู่แล้วก็ผสมให้ฟรี หรืออาจเอาเกลือธรรมดามาแลกกับเกลือผสมไอโอดีนก็ได้

       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกำหนดให้ใช้อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอำเภอต้นแบบในการศึกษาแก้ไขปัญหาการขาดแคลนสารไอโอดีนว่ามี  เส้นทางเกลือ มาจากแหล่งใดผลการสำรวจ เส้นทางเกลือ จาการค้นคว้า เส้นทางเกลือ ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2536 เป็นต้นมาสรุปได้ว่า


  1. เกลือผสมไอโอดีนส่วนใหญ่เป็นเกลือป่น
  2. เกลือที่ไม่ได้ผสมสารไอโอดีนเพิ่มเข้าไปจะมีทั้งเกลือป่นและเกลือเม็ด
  3. เกลือป่นส่วนใหญ่เป็นเกลือสินเธาว์จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเกลือเม็ด
  4. ส่วนใหญ่เป็นเกลือสมุทรจากสมุทรสงคราม สมุทรสาคร และเพชรบุรี
  5. เส้นทางเกลือที่ไม่ผสมไอโอดีน มีแหล่งผลิตและจำหน่ายที่สำคัญรวม 4 เส้นทาง คือ

ส่วนที่ 1  จาก จังหวัดสมุทรสาคร เป็นแหล่งรวมเกลือสมุทรจากเพชรบุรีและสมุทรสงครามส่งไปยังตัวเมืองเชียงใหม่ และส่งขายต่อร้านค้าย่อยในอำเภอสะเมิง

ส่วนที่ 2  พ่อ ค้าเชียงใหม่ซื้อตรงจากสมุทรสาคร โดยรถสิบล้อบรรทุกขึ้นมาแล้วมาบรรจุใส่ซองพลาสติดใส นำขึ้นรถปิดอัพเร่ขายในอำเภอสะเมิงและพื้นที่ใกล้เคียง

ส่วนที่ 3  พ่อ ค้าจากมหาสารคาม มีการซื้อเกลือสินเธาว์ป่นแถบอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี และย่านหนองกวั่ง อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร มาบรรจุซองที่จังหวัดมหาสารคาม แล้วนำเกลือไปเร่ขายทั่วประเทศโดยใช้รถหกล้อ ซึ่งมีการส่งขายถึงเชียงใหม่ และเข้าสู่อำเภอสะเมิงในที่สุด

ส่วนที่ 4  จากกรุงเทพมหานคร โดยพ่อค้ารายใหญ่จัดส่งไปขายที่เชียงใหม่และแถบใกล้เคียงโดยใช้เกลือสมุทรธรรมดา


แหล่งที่มา:http://www.chaipat.or.th/site_content/69--qq/268-qq.html

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ขั้นตอนการทำ


ขั้นตอนการทำ

การทำนาเกลือ

1.  แบ่งพื้นที่ทำนาเป็น 3 ตอน ได้แก่ นาตาก นาเชื้อ และนาแปลง ซึ่งมีระดับพื้นที่ลดหลั่นลงตามลำดับ เพื่อความสะดวกในการระบายน้ำและขังน้ำ

2. ก่อนถึงฤดูการทำนาเกลือ ให้ระบายน้ำเข้าเก็บขังไว้เพื่อให้น้ำสะอาด ผงโคลนตม แร่ธาตุ จะได้ตกตะกอนลง พื้นที่ที่ขังน้ำไว้ในตอนนี้บางทีเรียกว่า นาขัง

3. จากนั้นระบายน้ำเข้าสู่นาตาก ให้ระดับน้ำสูงกว่าพื้นนาประมาณ 5 cm เมื่อน้ำระเหยไปจนวัดความถ่วงจำเพาะของน้ำทะเลได้ 1.08 จึงถ่ายน้ำเข้าสู่นาเชื้อ เพื่อให้แคลเซียม- ซัลเฟต (CaSO 4) ตกผลึกออกมาเป็นผลพลอยได้ ส่วนน้ำทะเลที่เหลือปล่อยให้ระเหยไป จนมีความถ่วงจำเพาะ 1.2 แล้วจึงระบายน้ำทะเลนั้นเข้าสู่นาปลง 2 วัน NaCl เริ่มตกผลึก และจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะเดียวกันน้ำทะเลที่เหลือมีความเข้มข้นของ Mg 2+ Cl - และ SO 2- 4 ไอออนเพิ่มขึ้นจึงต้องระบายน้ำจากนาเชื้อเพิ่มเพื่อกันมิให้ MgCl 2 และ MgSO 4 ตกผลึกปนกับ NaCl มากด้วย ซึ่งจะทำให้เกลือที่ได้มีมลทิน คุณภาพไม่ดี

โดยปกติจะปล่อยให้ NaCl ตกผลึกประมาณ 9 – 10 วัน จึงขูดเกลือออกขณะที่มีน้ำทะเลขังอยู่เกลือที่ได้นำไปตากแดด 1 – 2 วัน แล้วจึงเก็บเข้าฉาง

แหล่งที่มา:https://sites.google.com/site/fafaisrnes/kar-phlit-kelux