เกลือเป็นสิ่งที่ร่างกายมนุษย์จะขาดเสียมิได้ คนที่มีน้ำหนัก 70 กิโลกรัมในร่างกายจะมีเกลือประมาณ 150 กรัม เลือดในร่างกายมนุษย์มีเกลืออยู่ประมาณ 5 ใน 1,000 ส่วน สำหรับในน้ำเหลืองไขสันหลัง และเหงื่อ ปริมาณของเกลือก็ยิ่งมีมากกว่า ถ้าหัวใจขาดเลือด ก็จะทำให้การเต้นของหัวใจผิดปกติ กล้ามเนื้อขาดเกลือ จะทำให้เกิดอาการชัก ถ้าในกระเพาะอาหารขาดเกลือ ก็จะทำให้ระบบการย่อยไม่ดี หากขาดเกลือเป็นระยะเวลานานๆ จะทำให้ไม่มีแรง
ผลวิจัยทางการแพทย์พบว่า ผู้ที่กินเกลือมาก อัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูงก็จะเพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น ประชาชนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น กินเกลือเฉลี่ยคนละ 26 กรัม/วัน ทำให้เป็นโรคความดันโลหิตสูงถึงร้อยละ 39 และส่วนใหญ่จะตายเพราะเส้นเลือดในสมองแตก สำหรับชาวเอสกิโมกินเกลือเฉลี่ยคนละ 4 กรัม/วัน อัตราส่วนของผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงต่ำมาก สำหรับปริมาณของเกลือที่กินในแต่ละวัน ควรที่จะควบคุมในปริมาณที่ต่ำกว่า 10 กรัม / วัน ถ้าต่ำกว่า 5 กรัม/วัน จะทำให้ความดันโลหิตลดลง เป็นการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงได้อีกด้วย ในกรณีของผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงควรควบคุมการกินเกลือให้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 3 กรัม/วัน ในภาวะที่กินเกลือน้อย ขณะเดียวกันเกิดมีอาการอาเจียน ท้องเสีย เหงื่อออกมาก หรือใช้ยาขับปัสสาวะทำให้เกลือในร่างกายถูกขับออกมามากเป็นผลให้เกิดอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยมึนหัว เบื่ออาหาร มีอาการจะอาเจียน หรืออาเจียน ตามัว เป็นต้น ถ้าเป็นมากจะทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัว เกิดอาการชักได้ ในภาวะเช่นนี้ควรกินน้ำเกลือเข้าไปชดเชย
ที่มา:https://www.doctor.or.th/article/detail/6735
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น