ศึกษาและหาแนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนสารไอโอดีน โดยการค้นหา เส้นทางเกลือ ตั้งแต่แหล่งผลิตจนถึงผู้บริโภคนำไอโอดีนไปผสมที่แหล่งผลิตหรือแหล่งจัดจำหน่ายโดยเติมให้ฟรีก่อน หากภายหลังพ่อค้าและภาคเอกชนเกิดศรัทธาสมทบก็สามารถทำได้หากบางท้องที่ไม่อาจเติมไอโอดีนที่แหล่งต้นทางได้ ทรงแนะนำว่าควรนำเครื่องเกลือผสมไอโอดีนไปบริการในลักษณะหน่วยบริการเคลื่อน ที่เข้าไปในหมู่บ้านต่างๆ กล่าวคือ ใครมีเกลืออยู่แล้วก็ผสมให้ฟรี หรืออาจเอาเกลือธรรมดามาแลกกับเกลือผสมไอโอดีนก็ได้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกำหนดให้ใช้อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอำเภอต้นแบบในการศึกษาแก้ไขปัญหาการขาดแคลนสารไอโอดีนว่ามี เส้นทางเกลือ มาจากแหล่งใดผลการสำรวจ เส้นทางเกลือ จาการค้นคว้า เส้นทางเกลือ ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2536 เป็นต้นมาสรุปได้ว่า
- เกลือผสมไอโอดีนส่วนใหญ่เป็นเกลือป่น
- เกลือที่ไม่ได้ผสมสารไอโอดีนเพิ่มเข้าไปจะมีทั้งเกลือป่นและเกลือเม็ด
- เกลือป่นส่วนใหญ่เป็นเกลือสินเธาว์จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเกลือเม็ด
- ส่วนใหญ่เป็นเกลือสมุทรจากสมุทรสงคราม สมุทรสาคร และเพชรบุรี
- เส้นทางเกลือที่ไม่ผสมไอโอดีน มีแหล่งผลิตและจำหน่ายที่สำคัญรวม 4 เส้นทาง คือ
ส่วนที่ 1 จาก จังหวัดสมุทรสาคร เป็นแหล่งรวมเกลือสมุทรจากเพชรบุรีและสมุทรสงครามส่งไปยังตัวเมืองเชียงใหม่ และส่งขายต่อร้านค้าย่อยในอำเภอสะเมิง
ส่วนที่ 2 พ่อ ค้าเชียงใหม่ซื้อตรงจากสมุทรสาคร โดยรถสิบล้อบรรทุกขึ้นมาแล้วมาบรรจุใส่ซองพลาสติดใส นำขึ้นรถปิดอัพเร่ขายในอำเภอสะเมิงและพื้นที่ใกล้เคียง
ส่วนที่ 3 พ่อ ค้าจากมหาสารคาม มีการซื้อเกลือสินเธาว์ป่นแถบอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี และย่านหนองกวั่ง อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร มาบรรจุซองที่จังหวัดมหาสารคาม แล้วนำเกลือไปเร่ขายทั่วประเทศโดยใช้รถหกล้อ ซึ่งมีการส่งขายถึงเชียงใหม่ และเข้าสู่อำเภอสะเมิงในที่สุด
ส่วนที่ 4 จากกรุงเทพมหานคร โดยพ่อค้ารายใหญ่จัดส่งไปขายที่เชียงใหม่และแถบใกล้เคียงโดยใช้เกลือสมุทรธรรมดา
แหล่งที่มา:http://www.chaipat.or.th/site_content/69--qq/268-qq.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น